บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)
กลุ่มอุตสาหกรรม: ทรัพยากร
หมวดธุรกิจ: พลังงานและสาธารณูปโภค
วันที่เข้าซื้อขายวันแรก: 26 ต.ค. 2547
ราคาพาร์: 10.00 บาท
เว็บไซต์: www.thaioil.co.th
จุดเด่น:
- เป็นโรงกลั่นแบบครบวงจร ที่มีกำลังผลิตสูงสุดของประเทศ
- มีธุรกิจที่หลากหลายทั้งการกลั่น ปิโตรเคมี ขนส่ง ผลิตไฟฟ้า
- มีการกระจายความเสี่ยงไปสู่ธุรกิจต่อเนื่องปิโตรเคมีขั้นต้น (สาย Aromatics)
- มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่แข็งแกร่งราว 20,000 ล้านบาท/ปี ซึ่งจากกระแสเงินสดจำนวนมากนี้ แสดงถึงศักยภาพในการขยายการลงทุนได้อีกมากในอนาคต
ปัจจัยเสี่ยง:
- การจัดหาน้ำมันดิบอาจไม่เพียงพอต่อกระบวนการผลิต
- ความผันผวนของราคาวัตถุดิบ
- ราคาผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป มีผลกระทบต่อกำไรขั้นต้น
- แนวโน้มธุรกิจโรงกลั่นและอะโรเมติกส์ จะเข้าสู่ช่วงขาลงเต็มปีในปี 52 ซึ่งเป็นผลจากกำลังผลิตใหม่ที่เพิ่มขึ้นมากในช่วงปลายปีนี้และปี 52 (โรงกลั่น Reliance ของอินเดีย)
- นโยบายภาครัฐฯยังกดดันกลุ่มโรงกลั่น
นโยบายเงินปันผล:
ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิของงบการเงินรวมภายหลังจากการหักทุนสำรองต่างๆ ทุกประเภทตามที่ได้กำหนดไว้ในข้อบังคับของบริษัทฯและตามกฎหมาย ทั้งนี้ การจ่ายเงินปันผลดังกล่าวจะขึ้นอยู่กับกระแสเงินสดของบริษัทฯ (โดยมีเงื่อนไขเพิ่มเติม)
Created date: 5-Jul-2008 17:04
Last Updated: 5-Jul-2008 21:50
ความเคลื่อนไหว
- [2008-05-30] อนุมัติการให้ส่วนลดราคาจำหน่ายน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนและกลุ่มผู้ใช้น้ำมันที่ได้รับผลกระทบสูง ตั้งแต่ 1 มิ.ย. – 30 พ.ย. 51 ภายในวงเงินไม่เกิน 920 ล้านบาท
- [2008-03-30] บริษัท ไทยพาราไซลีน จำกัด (TPX) ที่ TOP ถือหุ้น 100% ซ่อมเครื่องหน่วยผลิตสารพาราไซลีน รวมทั้งดำเนินโครงการก่อสร้าง เพื่อขยายกำลังการผลิตแล้วเสร็จ
- [2008-02-26] พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินปันผล สำหรับผลประกอบการปี 2550 ในอัตราหุ้นละ 4.50 บาท
ธุรกิจการกลั่น (Refinery) |
- เป็นโรงกลั่นประเภท Complex Refinery
- มีกำลังการกลั่นสูงสุดถึง 220,000 บาร์เรลต่อวัน (ประมาณ 12,000 ล้านลิตรต่อปี) คิดเป็น 21% ของกำลังการกลั่นรวมภายในประเทศ
- โรงกลั่นไทยออยล์ประกอบด้วยหน่วยกลั่นหลักๆ 4 ประเภท
– หอกลั่นน้ำมันดิบ (Crude Distillation Units) ทำหน้าที่กลั่นน้ำมันดิบ เป็นน้ำมันสำเร็จรูปชนิดต่างๆ โดยแยกประเภทตามอุณหภูมิที่ต่างกัน
– หน่วยกลั่นน้ำมันสำเร็จรูปหนักเป็นน้ำมันสำเร็จรูปเบา (Conversion Units) เปลี่ยนโครงสร้าง น้ำมันเตาที่มีคุณภาพต่ำ ให้เป็นน้ำมันเบาซึ่งมีมูลค่าการตลาดสูง เช่น น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล
– หน่วยเพิ่มคุณภาพน้ำมัน (Reforming Units) เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีค่าออกเทน และคุณภาพที่เหมาะสม สำหรับการนำไปใช้ เพื่อผสมน้ำมันเบนซิน ให้ได้มาตรฐานตามข้อกำหนด
– หน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน (Treatmemt) เป็นกระบวนการปรับปรุงคุณภาพ ของน้ำมันเบา เพื่อกำจัดสารปนเปื้อนต่างๆ ออกจากน้ำมัน
- รับน้ำมันดิบตะวันออกกลาง 75% เอเชียตะวันออก 5% และจากแหล่งในประเทศ (น้ำมันดิบเพชร, น้ำมันดิบปัตตานี และคอนเดนเสทจากอ่าวไทย) รวม 20%
- น้ำมันชนิดเบา (Light-Distillate) 33% ได้แก่ ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG), Mixed Xylenes, น้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว (ULG) ออกเทน 91, 95
- น้ำมันชนิดกลาง (Middle Distillate) 56% ได้แก่ น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบิน (Jet), น้ำมันก๊าด (Kerosene), น้ำมันดีเซล
- น้ำมันชนิดหนัก (Heavy Oil) 11% ได้แก่ น้ำมันเตา, ยางมะตอย และกำมะถันเหลว
|
ธุรกิจปิโตรเคมี (Petrochemical) |
- ไทยพาราไซลีน (TPX) เป็นธุรกิจปิโตรเคมีขั้นต้น
- ผลิตสารพาราไซลีน 407,000 ตันต่อปี
|
ธุรกิจนํ้ามันหล่อลื่นพื้นฐาน (Lubebase) |
- ไทยลู้บเบส (TLB)
- มีกำลังการผลิตน้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานขนาด 270,000 ตันต่อปี
- ยางมะตอย 400,000 ตันต่อปี
- ผลิตผลพลอยได้อื่นๆ 270,000 ตันต่อปี
|
ธุรกิจขนส่ง (Transportation) |
- ไทยออยล์มารีน (TM)
- เป็นธุรกิจเดินเรือขนส่งผลิตภัณฑ์น้ำมันและผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทั้งภายในและต่างประเทศ
- เป็นเจ้าของเรือบรรทุกน้ำมันและปิโตรเคมีขนาดใหญ่ จำนวน 7 ลำ ขนาดบรรทุกรวม 43,340 ตันบรรทุก (Dead weight Ton)
- ท่อส่งปิโตรเลียมไทย (THAPPLINE)
- เป็นการขนส่งน้ำมันทางท่อ
- โดยขนส่งน้ำมันเบนซินไร้สารตะกั่ว, น้ำมันเบนซินธรรมดาไร้สารตะกั่ว, น้ำมันเชื้อเพลิงเครื่องบิน และน้ำมันดีเซล
- มีหุ้นส่วน ปตท. เอสโซ่ เชลล์ คาลเท็กซ์ ไทยออยล์ คูเวตปิโตรเลี่ยม บรรษัทเงินทุนฯ บีพี ทีซีพีแอล
|
ธุรกิจการผลิตไฟฟ้า (Power) |
- ไทยออยล์เพาเวอร์ (TP)
- โรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมแบบโคเจนเนอเรชั่นโดยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง (Combined-Cycle Co-generation Power Plant)
- มีกำลังการผลิตพลังงานไฟฟ้าขนาด 118 เมกะวัตต์ และไอน้ำ 168 ตันต่อชั่วโมง
- จำหน่ายไฟฟ้าให้แก่ กฟผ. จำนวน 41 เมกะวัตต์ ด้วยสัญญาซื้อขายเป็นเวลา 25 ปี โดยไฟฟ้าส่วนที่เหลือและไอน้ำที่ผลิตได้จำหน่ายให้แก่ บมจ. ไทยลู้บเบส และ บมจ. ไทยออยล์
- ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ประเทศไทย)
- โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ เป็นเชื้อเพลิงในการผลิต เป็นธุรกิจผลิตกระแสไฟฟ้าตามโครงการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระรายใหญ่ (Independent power Producer: IPP) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)
- มีกำลังการผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 700 เมกะวัตต์
- จำหน่ายกระแสไฟฟ้าที่ผลิตได้ทั้งหมด ให้แก่ กฟผ. ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งมีระยะเวลา 25 ปี โดยจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้า สู่ระบบไฟฟ้า กฟผ. ผ่านสายส่งไฟฟ้าแรงสูงขนาด 230 กิโลโวลท์ ไปยังสถานีไฟฟ้าแรงสูงอ่าวไผ่ของ กฟผ. อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
|
ข้อมูลอ้างอิง